วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Research article.

วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning) กับการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
1.)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 
2.)แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ บทเรียนออนไลน์ (e-Learning)  
3.)แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องบรรยากาศ 

สถิติ
สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 2) คะแนนเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 3) คะแนนเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

น.ส.พัชรวี  สิริเวชพันธุ์

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

Learning compensation.

Learning compensation.

- วันนี้ อาจารย์ทั้ง 2 ได้นัดให้มีการเรียนชดเชย โดยให้นักศึกษาออกมานำเสนอ 
   การทดลอง "วิทยาศาสตร์" ทีละคน

- หลังจากได้ทดลองแล้ว ให้ส่งชิ้นงานของเล่นวิทยาศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์เข้ามุม พร้อม paper 
  ทีละคน ตามลำดับเลขที่





                                                                                                                           

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

Recorded teaching 18

Recorded teaching. 

วันนี้อาจารย์ได้ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้มาในวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตลอดทั้งเทอมผ่านการทำ Mindmapping เขียนลงในกระดาษระบายสีให้สวยงาม

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

Recorded teaching 17

Recorded teaching. 

ในวันนี้อาจารย์นัดให้ทำอหาร คือ ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ให้มีตัวแทนออกมาเป็นครูสอน และมีนักศึกษาที่ทำเป็นออกมาทำและแสดงเป็นนักเรียน ซึ่งไข่ตุ๋นที่ทำมีรสชาตอร่อย ไม่แข็งจนเกินไป และมีขั้นตอนและวิธีทำดังนี้

ส่วนประกอบและเครื่องปรุง
1. ไข่ไก่ 2 ฟอง
2. เนื้อกุ้ง (แกะเปลือกออกทั้งหมด)
3. ต้นหอมซอย
4. แครอท บล็อคโคลี่ (ผักสามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการค่ะ)
5. น้ำเปล่า
6. สาหร่ายคนบุ
7. ปลาแห้ง
8. ซีอิ้วขาว

ขั้นตอนวิธีทำไข่ตุ๋น
1. เริ่มอย่างแรกด้วยการทำน้ำซุปก่อนค่ะ นำน้ำเปล่า ปลาแห้ง และสาหร่ายคนบุใส่หม้อตั้งไฟ ต้มให้ได้ที่ระวังอย่าให้เกิดฟอง จากนั้นกรองด้วยกระชอนตาถี่ก็จะได้น้ำซุปปลาใสพักไว้ให้เย็น

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

Learning compensation.

Recorded teaching. 

วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนโดยกำหนดเป็นเรื่อง อาหาร ให้เขียนขั้นตอนการทำอาหารที่เลือก เขียนความสำคัญของอาหาร ให้คิดว่าแต่กลุ่มจะทำอาหารอะไรมีวัสดุอะไรบ้าง ให้เขียนใส่กระดาษ 4 แผ่น ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ จากนั้นอาจารย์ก็ให้เลือกว่าจะให้ทำอาหารอะไรในวันพุธ ทุกคนเลือกทำไข่ตุ๋น ในสัปดาห์หน้า 

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

Recorded teaching 15

Recorded teaching


ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ ได้สั่งานไว้ในทำ คือบล๊อกและรูปเล่มโครงงานที่ไปศึกษาในโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

Recorded teaching 14

Recorded teaching 


*ไม่มีการเรียนการสอน*
 เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ และได้สั่งานให้ทำ คือรวบรวมผลงานที่ไปศึกษาดูงานมาจากโรงเรียนทั้ง  2 แห่ง

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 13

Recorded teaching.


ออกเดินทางในวันที่ 27 สิงหาคม - 28 สิงหาคม เพื่อศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching.12


*ไม่มีการเรียน การสอน*

อาจารย์จินตนา ได้มอบหมายให้ทำงาน ดังนี้
        -ตรวจสอบ จัดตกแต่ง อัพเดทข้อมูลในบล็อกของตนเองให้เรียบร้อย
       - ศึกษาข้อมูลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพื่อที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 27-28 สิงหาคม  2556  

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 11

Recorded teaching.
  
- อาจารย์ได้เข้าไปดูบล็อกในเซสนี้ ว่านักศึกษาคนใดที่ยังทำงานไม่เรียบร้อย   

- อาจารย์ได้พูดถึงการไปดูงานที่ โรงเรียนลำปลายมาศพัมนา และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา ว่ามีแต่ละฝ่ายงานมีอะไรบ้างมีหน้าที่อะไรและใครที่ทำหน้าที่อะไร โดยแบ่งตามหน้าที่ ดังนี้
    1. การประสานงาน  จำนวนคน 7

    2. ประชาสัมพัธ์   จำนวนคน 5  
    3. ฝ่ายประเมินผล  จำนวนคน 7
   4. งบประมาณ จำนวนคน 4

   5. ลงทะเบียน  จำนวนคน 6
   6. สวัสดิการ  จำนวนคน 7
   7. พิธีการ กล่าวขอบคุณ  จำนวน 6 คน 
      7.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
      7.2  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 10

Recorded teaching.

      วันนี้ได้เข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ณุตา พงษ์สุผล ชื่อโครงการว่า "โครงการกายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"
ซึ่งในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการแสดงรำศรีวิชัย และเซิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่

        
        มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย 

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 9


     วันนี้อาจารย์ติดธุระที่หอประชุมอาจารย์เลยให้นักศึกษารออยู่ภายห้องเรียน เพื่อคุยเรื่องการไปศึกษาดูงานที่ โคราช - บุรีรัมย์ ในวันที่ 27-28 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2556

Subject matter.

   
  - ให้นักศึกษากลับไปศึกษาประวัติของ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา  ไปดูว่าเขามีการจัดประสบการณ์ส่งเสริมเชิงวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้างเพื่อให้เข้าใจก่อนวันไปดูงาน เพื่อต่อยอดความรู้ได้ง่ายขึ้น
       - อาจารย์ให้พูดคุยกันในเรื่องของหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการไปดูงานครั้งนี้เมื่อทุกคนที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงานแล้ว ให้ไปออกแบบฟอร์มของแต่ละหัวข้อที่แต่ละคนรับผิดชอบ
      

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 7

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี ดังนี้
1.กระบวนการเบื้องต้น
2..กระบวนการผสม
3.ข้อมูลที่ใช้สื่อความหมาย
4.วิธีการใช้สื่อ
5.วิธีการใช้จัด

My mapping

             

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 6

Recorded teaching.


- อาจารย์งดการเรียน การสอน เนื่องจากติดธุระของคณะศึกษาศาสตร์จึงไม่สามารถเข้าสอนได้

- อาจารย์ได้ฝากงานมาไว้ คือ ให้นักศึกษาทำ Blog ให้เสร็จ  โดยต้องโพสเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์ การทดลองวิทยาศาสตร์  ของเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์  ให้ครบ 3 ชิ้น

- อาจารย์จะตรวจภายในวันเสาร์  ถ้านักศึกษายังไม่ได้ดำเนินการจะถูกเช็คขาดในวันที่งดการเรียน การสอน  และไม่มีคะแนนในงานของสื่อวิทยาศาสตร์
                                    


วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 5

Recorded teaching.


-อาจารย์ได้ให้ออกมารายงานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่หามาโดยต้องรายงานทุกคน 


-บางคนก็หาไม่ใช่ของเล่น แตเป็นการทดลอง หรือไม่ก็เป็นมุมวิทยาศาสตร์ 
- อาจารย์ให้นักศึกษาหาการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นตามมุมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

หมายเหตุ : ใครที่นำการทดลอง หรือ ของเล่นมานำเสนอแล้ว ก็ให้เอาส่วนที่เหลือนำเสนอในอาทิตย์

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Recorded teaching 4

Recorded teaching.
- อาจารย์ได้นำของเล่นชิ้นหนึ่งมาให้ดูแล้วสังเกตว่าลักษณะอย่างไรมองเห็นอะไรอยู่ไหนนั้น บางคนก็มองเห็น บางคนก็มองไม่เห็น อาจารย์เลยบอกว่าของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า "กระบอกลุกปิงปอง"

- แล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4คนละแผ่นให้ทับเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ได้12 ช่องแล้วตัดตามช่องทำเป็นสมุดเล่มเล็ก

-จากนั้นให้วาดรูปอะไรก็ได้ขึ้นมา 1 รูป ในหน้าที่ 2 จะต้องเป็นเหมือนรูปแรกแต่ต้องเติมภาพลงไปเลื่อย จนถึงแผ่นที่ 8 ก็จะได้ภาพที่สมบูรณ์

-อาจารย์ได้เปิด VCD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำให้ดู


สรุป แรงกดดันของน้ำ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ยิ่งลึกมาก ยิ่งมีแรงกัดดันมาก

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Recorded teaching 3

Recorded teaching.

- อาจารย์ให้ดู VCD เรื่องความลับของแสง  แล้วให้จดสรุปเนื้อหาสาระทีสำคัญ ดังนี้
1.แสงสว่าง  
ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะลำแสงส่องมาถูกกับวัตถุจึงทำให้เรามองเห็นได้
2.คุณสมบัติของแสง
 2.1วัตถุโปรงแสง - วัตถุที่แสงสามารถเดินทางผ่านได้บางส่วน ทำให้เห็นเป็นเงามัว แต่ไม่เห็นภาพชัดเจน ได้แก่ กระดาษ สมุด กระดาษไขลอกลาย กระจกฝ้า น้ำขุ่น เป็นต้น

2.2.วัตถุโปรงใส - ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้หมด จะทำให้มองเห็นวัตถุข้างหน้าได้ชัดเจน เช่น น้ำใส กระจกใส อากาศ แก้วน้ำใส เป็นต้น

2.3วัตถุทึบแสง - วัตถุที่แสงผ่านไปไม่ได้ เช่นผ้า แผ่นไม้ แผ่นอะลูมิเนียม แผ่นสังกะสี เป็นต้น

*การสะท้อนแสง - การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วสะท้อนไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทางเดิม การสะท้อนของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุด้วย
3.การหักเหของลำแสง
   -จะทำให้เกิดรุ่งกินน้ำได้



วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Recorded teaching 2

Recorded teaching.

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับ
- ความหมาย 
- ความสำคัญ
- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


1.วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือ พิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่
 

2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้    

3.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น   และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม 

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Recorded teaching 1

Recorded teaching.

    อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับแนวการสอนในรายวิชา และพูดถึงวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก 

ปฐมวัยอย่างคร่าวๆ ว่า 
 เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา

 เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหา

ได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ 

ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้อง

ต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา